วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2555


ไม้กฤษณา
ชื่อพื้นเมือง 
กฤษณา (ภาคตะวันออก) กายูการู กายูกาฮู กายูดึงปู (มาเลเซีย ปัตตานี) ไม้หอม (ภาคตะวันออก ภาคใต้) อครุ, ตคร (บาลี) ติ่มเฮียง (ไม้หอมที่จมน้ำ) (จีน), เซงเคง (ภาษากะเหรี่ยง), สีเสียดน้ำ(บุรีรัมย์), ตะเกราน้ำ(จันทบุรี), ไม้พวงมะพร้าว (ภาคใต้), gaharu, kikaras, mengkaras  (อินโดนีเซีย), gaharu, tengkaras, karas (มาเลเซีย), agar (พม่า), Eagle Wood, Aglia, Lignum Aloes, Agarwood, Calambac, Akyaw, Aloewood, Calambour (อังกฤษ), Sasi (Assamese),Chen Xiang  ( , จีน)
ชื่อวงศ์         
Thymelaeaceae  Genus: Aquilariaประเทศไทยพบ 4 ชนิด คือ Aquilaria baillonil, A. crassna Pierre, A. malaccensis Lamk. (ชื่อพฤกษศาสตร์พ้อง A. agallocha Roxb.) และชนิดใหม่ที่เพิ่งค้นพบโดย Dr. Ding Hau คือ A. subintegra Ding Hau
ถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์               
พบในเอเชีย อินเดีย ทิเบต ภูฐาน พม่า จีน ตลอดแหลมมลายู เกาะสุมาตรา บอร์เนียวและฟิลิปปินส์

ลักษณะทั่วไป              
กฤษณาเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ มีความสูงตั้งแต่ 8-21 เมตร ขึ้นไป วัดโดยรอบลำต้นโตประมาณ 1.5-4.5 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทรงเจดีย์ต่ำ หรือรูปกรวย ลำต้นเปลาตรงมักมีพูพอนที่โคนต้นเมื่อมีอายุมาก เปลือกด้านนอกเรียบสีเทาอมขาว เปลือกหนาประมาณ 5-10 มิลลิเมตร มีรูระบายอากาศสีน้ำตาลอ่อนทั่วไป เปลือกด้านนอกจะปริเป็นร่องเล็กๆ เมื่ออายุมากๆ ส่วนเปลือกชั้นในมีสีขาวอมเหลือง มีขนคล้ายเส้นไหม เป็นมันตามปลายยอดเปลือกนอกใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว รูปมน รูปไข่กลับ หรือรูปยาวขอบขนานออกเรียงสลับกัน เนื้อใบเป็นมันปลายใบเรียวแหลม ใบกว้าง 2.5-3.5 เซนติเมตร ยาว 7-9 เซนติเมตร โคนใบรูปลิ่ม ใบแก่เกลี้ยงเป็นมัน แต่ใบอ่อนสั้นและคล้ายไหม เส้นแขนงใบ 12-18 คู่ ก้านใบมีขนสั้นนุ่มยาว 3-7 มิลลิเมตร สีเขียวอ่อน ใบแก่มีสีเขียวเข้มก่อนร่วงเป็นเหลืองดอก  สีขาว สีเหลือง ไม่มีกลีบดอก ออกเป็นช่อเล็กๆ ประมาณ 4-6 ดอก มีกลิ่นหอม เป็นดอกสมบูรณ์เพศ เกิดที่ง่ามใบหรือยอด เป็นแบบ Axillary หรือ Terminal umbles ก้านดอกสั้น มีขนนุ่มอยู่ทั่วไป ตามง่ามใบและดอก ออกดอกในช่วงฤดูร้อน และกลายเป็นผลแก่ในประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน เมื่อดอกบานแล้ววงกลีบเลี้ยงจะเจริญมาก กลีบดอกมีขนยาว 1-1.5 มิลลิเมตร เกสรตัวผู้มีก้านยาว 1-1.5 มิลลิเมตร อับเกสร 1 มิลลิเมตร รังไข่มีขนยาว 2-3 มิลลิเมตร ผล เป็นแบบ Capsule รูปไข่กลับค่อนข้างแบน ส่วนที่ติดกับขั้วเล็ก เปลือกแข็ง มีขนสีเทา ผลยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ในเดือนสิงหาคม ผลเริ่มแก่และจะแตกอ้ามีเมล็ด 1 หรือ 2 เมล็ดแบบ Ovoid ขนาดของเมล็ดยาว 5-6 เซนติเมตร มีหางเมล็ดมีสีแดงหรือสีส้ม ปกคลุมด้วยขนสั้นนิ่มมีสีแดงอมน้ำตาล ระยะเวลาในการออก อยู่เป็นช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ และเป็นผลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน

ลักษณะของเนื้อไม้
ลักษณะของเนื้อไม้กฤษณาจะมีทั้งเนื้อไม้ปกติและเนื้อไม้หอมที่มีน้ำมันกฤษณา ซึ่งคนไทยรู้จักจำแนกความแตกต่างมาตั้งแต่โบราณแล้ว ดังกล่าวถึงในมหาชาติคำหลวงสมัยอยุธยา ตอนต้น พ.ศ.2025 ว่ามีทั้งไม้กฤษณาขาว (เสตครู) และ กฤษณาดำ (ตระคัร) ซึ่งมีเนื้อไม้หอม                เนื้อไม้กฤษณา ปกติจะมีสีขาวนวลเมื่อตัดใหม่ๆ ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน เสี้ยนจะตรง เนื้อไม้หยาบปานกลาง เลื่อยผ่าได้ง่าย ขัดชักเงาไม่ได้ดี ไม่ค่อยทนทาน อยู่ในน้ำจะทนทานพอประมาณ เมื่อแปรรูปเสร็จแล้ว ควรรีบผึ่งให้แห้งโดยเร็ว ในการผึ่งจะมีการปริแตกได้ง่าย และมักถูกเห็ดราย้อมสีเกาะ ทำให้เสียสี ความถ่วงจำเพาะประมาณ 0.52 ความทนทานตามธรรมชาติ อยู่ในช่วง 0.5-7.5 ปี แต่เฉลี่ยประมาณ 1.1 ปี การอาบน้ำยาไม้ทำได้ง่ายมาก                ส่วนเนื้อไม้ที่มีน้ำมันกฤษณา จะมีสีดำเหลือง,น้ำตาล น้ำตาลเข็มถึงดำถึงแก่นขึ้นสุดท้ายจะหนัก และจมน้ำตามคุณภาพของเนื้อไม้ ขึ้นอยู่กับการสะสมของน้ำมันกฤษณาภายในเซลล์ต่างๆของเนื้อไม้ องค์ประกอบทางด้านเคมี ของน้ำมันหอมระเหยจากกฤษณา ประกอบด้วยสารที่เป็นยางเหนียว (Resin) อยู่มาก สารที่ทำให้เกิดกลิ่นหอม คือ Sesquiterpene alcohol มีหลายชนิดคือ Dihydroagarofuran, b-Agarofuran, a-Agarofan, Agarol, Agarospirol, Eudesmane, Valencane, Eromophilane, Vetispirane และ สารพวกอนุพันธุ์ของ Chromome                  การตรวจคุณภาพของไม้กฤษณา ทำได้โดยการทิ้งท่อนไม้ลงในน้ำ ถ้าท่อนไม้จมน้ำจะมีคุณภาพดีเลิศเรียกว่า “Gharki” ชนิดนี้เนื้อไม้มีสีดำ กลิ่นหอมมาก ถ้าท่อนไม้เริ่มลอยปริ่มน้ำ ชนิดนี้มักมีสีน้ำตาลอ่อน หรือน้ำเงินเข้ม เป็นไม้กฤษณาคุณภาพรองลงมาเรียกว่า “Neem Gharki” ถ้าท่อนไม้ลอยน้ำ เป็นไม้กฤษณาคุณภาพต่ำ ที่เรียกว่า “Samaleh” เมื่อเผาเนื้อไม้จะไม่พบกลิ่นหอมเลย
การขยายพันธุ์               
โดยธรรมชาติไม้กฤษณาจะขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เมล็ดมีอัตราการงอกประมาณ 70% การเก็บเมล็ดมาเพาะนั้น ควรรีบเพาะเมล็ดที่เก็บมาในทันที ก่อนที่แมลงและเชื้อราที่ติดมากับเมล็ดจะทำให้เมล็ดไม่งอก กล้าไม้ที่เกิดจากการเพาะเมล็ดจะมีการเติบโตช้า และตายได้จากโรคเน่าคอดินที่เกิดจากเชื้อรา Peronophythora sp. โดยเฉพาะเมื่อเพาะในดินที่ไม่ได้ผ่านการอบฆ่าเชื้อ

 การขยายพันธุ์ไม้กฤษณา
ปัจจุบันขยายพันธุ์โดยวิธีการเพาะเมล็ด ซึ่งจะมีเมล็ดตั้งแต่เดือน เมษายน ถึง ตุลาคมเมล็ดจะถูกหุ้มด้วยเปลือกชั้นนอก ซึ่งมีลักษณะหนา พอแตกออก เมล็ด จะ หล่น ออกมามีสีค่อนข้างดำ หรือลายดำ
                                        

1.กรรมวิธีเพาะเมล็ด
     ขั้นตอนที่ 1 สร้างเรือนเพาะชำขนาดตามความต้องการ โดยให้สูง ประมาณ 2.50 เมตร
     ขั้นตอขั้นตอนที่ 3 เตรียมดินที่จะนำมาใส่ถุง ควรใช้ดินร่วนปนกรวดเล็กน้อย แล้วผสมมูลวัว หรือมูลควายในอัตรา 5:1 (ห้ามใช้ปุ๋ยเคมี)
       ขั้นตอนที่ 4 นำดินมาใส่ถุงโดยใส่ให้เหลือจากปากถุง ประมาณ 3 ซ.ม. แล้วนำมาเรียงในเรือนเพาะชำโดยใช้ความกว้างจำนวน 10 ถุง เรียงยาวตามลักษณะของเรือนเพาะชำ โดยให้แต่ละร่องห่างกัน ประมาณ 50 ซ.ม. แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
         ขั้นตอนที่ 5 เตรียมเพาะเมล็ดให้นำน้ำอุ่นอุณหภูมิประมาณ 35-40 องศาเซลเซียส ใส่ลงในกะละมัง นำเมล็ดที่เตรียมไว้เทลงคนให้ทั่ว ประมาณ 5 นาทีปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีให้สังเกตเมล็ดที่ ลอยให้ตักออกเพราะเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ไม่สมบูรณ์ หลังจากนั้นให้เท น้ำทิ้ง
          ขั้นตอนที่ 6 เตรียมดินเพาะเมล็ดควรใช้ดินร่วนปนทรายใส่ลงในกระบะ หรือตะ กร้าที่น้ำถ่ายเทสะดวกแล้วรดน้ำที่ผสมกำมะถัน หรือยากันเชื้อรา ลงในดินที่เตรียมไว้แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
           ขั้นตอนที่ 7 นำเมล็ดตามขั้นตอนที่ 5 ทิ่มด้านปลายแหลมลงดินที่ใส่ไว้ ในกระบะหรือตะกร้าไม่ต้องรดน้ำ แล้วนำสแลนทาบปิดเพื่อป้องกันแมลงรบกวน หลังจากนั้นประ มาน 10 วันเมล็ดจะเริ่มงอกซึ่งจะนำลงถุงในขั้นต่อไป
           

             ขั้นตอนที่ 8 รดน้ำที่ผสมยาฆ่าแมลงลงในดินที่ใส่ถุงลงแปลงที่เตรียม ไว้ให้ชุ่มอีกครั้งหนึ่ง
            ขั้นตอนที่ 9 ใช้ไม้แหลมกลมขนาดประมาณ 2-3 หุน แทงลงในดินที่ใส่ ถุงแล้วใช้เมล็ดที่เป็นถั่วงอกด้านที่เป็นรากใส่ลงไป แล้วกดดินให้ แน่นหลังจากนั้นควรรดน้ำบางๆอีกครั้ง แล้วเมื่อครบแล้วใช้พลาส ติกใสคลุมลงลักษณะโค้งครึ่งวงกลมเพื่อเมล็ดที่งอกออกมาจะเสมอ ใกล้เคียงกัน และเจริญเติบโตเร็วหลังจากนั้นประมาณ 10 วันก็เอา พลาสติกออก รดน้ำให้ชุ่มอีกครั้ง
            ขั้นตอนที่ 10 เมื่อกล้าไม้อายุประมาณ 1 เดือน ควรใช้ปุ๋ยมูลวัวมูลควาย (ห้ามใช้อย่างอื่นและห้ามเด็ดขาดคือปุ๋ยเคมีเม็ด) หมักไว้ในถังหรือ โอ่ง ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วนำน้ำมารดให้กับกล้าไม้หอม จะทำให้กล้าไม้้หอม เจริญเร็วมาก
2. การขยายพันธุ์โดยวิธีการเพาะเนื้อเยื่อ (Tissue)
กำลังอยู่ในระหว่างการขยายพันธุ์โดยประสานงานกับอาจารย์ยุพา มงคลสุข สถาบันค้นคว้าและพัฒนาการผลิตผล ทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อยู่ในช่วงการขยายพันธุ์และปัจจุบันทางชมรม ไม้กฤษณา (ไม้หอม) แห่งประเทศไทย ได้ทำพันธมิตรคู่ค้ากับองค์การ อุตสาหกรรมกรมป่าไม้โดยการสร้างโรงเพาะเนื้อเยื่อ แบบโรงมาตรฐานขึ้นที่บริเวณ สวนป่าท่ากุ่ม ตำบลท่ากุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดตราดโดยทางชมรมเป็นผู้ลงทุนทั้ง หมด ค่าก่อสร้างโรงเพาะเนื้อเยื่อประมาณโรงละ 11 ล้านบาทรวม 2 โรงโดยจะ ผลิตกล้าไม้ในระยะเวลา 5 ปีได้ประมาณ 48 ล้านต้น ค่าใช้จ่ายในการปฎิบัติงานทั้ง หมดประมาณ 120 ล้านบาท โดยคาดว่าจะส่งกล้าพันธุ์ที่พร้อมปลูกให้กับสมาชิกได้ ประมาณปี 2549 สายพันธุ์ที่ใช้เพาะเนื้อเยื่อเป็นที่ปรับปรุงพันธุ์ โดยการทำ Cross Section ระหว่างต้นไม้บางกระดาน ซึ่งเป็นไม้กฤษณาที่เป็นแก่นมากที่สุด มีการเกิดกฤษณามาก กับต้นไม้กฤษณาต้นท้ายวัง ซึ่งเป็นไม้กฤษณาขนาดใหญ่มาก มีลำต้นโต 415 ซ.ม. สูงประมาณ 40 เมตร ซึ่งเป็นต้นที่ลำต้นสวยงาม ใหญ่ ไม่โค่นล้ม ลูกผสมที่ได้ออกมาจะ มีลำต้นสีแดง หรือพันธุ์หนังคางคกแดงใบเล็กเรียวแหลม ซึ่งถือว่าเป็นพันธุ์ที่มี ลักษณะดีที่สุดให้น้ำมันคุณภาพสูง เจริญเติบโตเร็วมาก ไม่โค่นล้ม รากลึก และสามารถปรับสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดีมากซึ่งเป็นการปรับปรุงพันธุ์ที่ประสบผลสำเร็จอย่างสูงนที่ 2 เตรียมถุงเพาะชำสีดำ (2 1/2 x 7 นิ้ว ) หรือ 3 1/2 นิ้ว x 9 นิ้ว      
                              
การนำมาใช้ในแพทย์แผนไทย
การนำมาใช้ทางยาในแพทย์แผนไทย และยาพื้นบ้าน          
      ในประเทศจีน ใช้ลดอาการปวด โดยเฉพาะปวดท้อง อาการเกร็งกล้ามเนื้อ อาการปวดในระบบทางเดินปัสสาวะ มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง แก้อาการหอบ รักษาโรคลมชัก
สรรพคุณในตำรับแพทย์แผนไทย              
เนื้อไม้และชัน 
 - ใช้ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียน บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ บำรุงตับและปอดให้ปกติ แก้ลม แก้ลมซาง แก้ลมอ่อนเพลีย บำรุงกำลัง แก้ไข บำรุงโลหิต รักษาโรคปวดข้อ   น้ำมันจากเมล็ด 
 -  รักษาโรคเรื้อน และโรคผิวหนัง แก้มะเร็ง    น้ำจากใบ             
  - ใช้เป็นยารักษาภูมิแพ้ และรักษาโรคเบาหวานได้             
น้ำมันกฤษณา    
- แก้โรคท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นตัวยารักษาโรคมะเร็งในลำไส้และกระเพาะอาหาร รักษามะเร็งตับ              
ไม่ระบุส่วนที่ใช้
 - บำรุงโลหิต แก้ตับปอดพิการ แก้ไขเพื่อเสมหะและลม บำรุงโลหิตในหัวใจ ทำตับปอดให้ปกติ คุมธาตุ แก้ปวด แก้อัมพาต รักษา โรคมาลาเรีย              
ตำรายาพระโอสถสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. 2202
การใช้ประโยชน์จากกฤษณาในทางยา คนไทยรู้จักใช้มานานแล้ว ดังปรากฏ ในตำรายาพระโอสถสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช   พ.ศ. 2202 กล่าวถึงตำรายาที่เข้ากฤษณาหลายชนิด เช่น มโหสถธิจันทน์นั้นเอาสมุลแว้ง ดอกมะลิ สารภี พิกุล บุนนาค เกสรบัวหลวง เกสรสัตบงกช จันทน์ทั้ง 2 กฤษณา กระลำพัก ขอนดอก แฝกหอม ตะนาว (ชื่อกระแจะเครื่องหอม) เปราะหอม โกฐหัวบัว เสมอภาค น้ำดอกไม้เป็นกระสาย บดทำแท่งละลายน้ำซาวข้าว นำดอกไม้ ก็ได้ รำหัดพิมเสนชโลม ถ้ากินแรกขัณฑสกรลงด้วย แก้พิษไข้สันนิบาต อาการตัวร้อนหนัก สรรไข้ทั้งปวงหายสิ้นแลฯหรือใน ตำรายาทรงทาพระนลาต แก้พระโลหิตกำเดา อันประชวรพระเจ้านัก ให้เอา กฤษณา อบเชยเทศ รากมะลิ รากสลิด รากสมี ชะมด ลดด้วยน้ำดอกไม้เทศ น้ำดอกไม้ไทยก็ได้ รำหัดพิมเสนลง ทรงทาหายแลฯเป็นต้น              

ในตำราพระโอสถครั้งรัชกาลที่ 2 พ.ศ. 2355 กล่าวถึงตำรายาที่เข้ากฤษณา หลายชนิด เช่น ยาชื่อมหาเปราะเอาดอกบุนนาค กฤษณา กะลำพัก ผิวมะกรูด ว่านน้ำ การบูร ไคร้หอม สิ่งละส่วน เปราะหอม 3 ส่วน ทำเป็นจุลบดทำแท่งไว้ ละลายน้ำดอกไม้แทรกพิมเสน ทั้งกิน ทั้งชโลม ทาก็ได้ แก้พิษลมทรางทั้ง 7 จำพวก แลสรรทางอันจรมานั้นหายสิ้นดีนัก”            
 นอกจากกฤษณาจะเข้ายาแก้ซาง ดังปรากฏในตำรายาชื่อ มหาเปราะ ดังกล่าว ยังมีคุณ ประโยชน์ คือ กฤษณาจะเข้ายากำลังราชสีห์ กินบำรุงโลหิต หรือเข้ายาชื่อแดงใหญ่ แก้สรรพต้อมีพิษ แก้จักษุแดง เป็นต้น ตำรายาสมัยต่อมา ก็ปรากฏตำรายา ที่เข้ากฤษณาอีกมากมายหลายชนิด เช่น ตำรายาหอมของนายพันไท หม่อมเจ้ากรรมสิทธิ์ กล่าวถึงการใช้กฤษณาเข้ายาอินทโอสถ แก้ไข้ แก้สลบ แก้หืด แก้ริดสีดวง แก้ฝีในท้อง จำเริญอาหาร  จำเริญธาตุ จำเริญพระชนม์ เป็นต้น               
ในตำรายาไทยระบุว่ากฤษณารสขมหอม สุขุม คุมธาตุ บำรุงโลหิตในหัวใจ (อาการหน้าเขียว) บำรุงหัวใจ บำรุงตับปอดให้เป็นปกติ แก้ลมวิงเวียนศรีษะ หน้ามืด แก้ลมซาง แก้ไข้ อาเจียน ท้องร่วง บำบัดโรคปวดตามข้อ ตำรับยาที่เข้ากฤษณามีหลายชนิด เช่น ตำรายาเด็กในคัมภีร์ปฐมจินดา กล่าวว่ากฤษณาจะเข้ายาแก้ซาง แก้ไข้ แก้พิษ  เช่น ยาแดง ยาคายพิษ ยาทาลิ้น ทาแก้เสมหะ ยาแก้ไข้  และยาล้อมตับดับพิษ ยากวาดแก้ดูดนมมิได้ ยาหอมใหญ่ แก้ซาง แก้ไข้  ยาเทพมงคล  ยาสมมติกุมารน้อย ยาสมมติกุมารใหญ่ ยาอินทรบรรจบ ยาแก้ซางเพลิง ยาแก้ท้องเสีย แก้บิดในเด็ก  เป็นต้น ส่วนในพระคัมภีร์มหาโชติรัตน์ว่าด้วยโรคระดูสตรี กฤษณา จะเข้ายาบำรุงโลหิต แก้โลหิตเป็นพิษ  เช่นยาอุดมโอสถน้อยใหญ่ ยาเทพรังสิต ยาเทพนิมิต กฤษณาจะเข้ายาบำรุงโลหิต บำรุงธาตุ บำรุงกาม เพื่อให้ตั้งครรภ์ เช่นยากำลังราชสีห์ ในคัมภีร์ธาตุบรรจบ กฤษณายังเข้ายาเทพประสิทธิ์ ใช้แก้ลม แก้สลบ แก้ชัก ปัจจุบันตำรับยาที่เข้ากฤษณายังมีอยู่ เช่น ยากฤษณากลั่น แก้ปวดท้อง จุกเสียด แน่น รวมทั้งยาหอมแทบทุกชนิด เช่น ยาหอมตราห้าเจดีย์ ยาหอมตราฤาษีทรงม้า ล้วนแต่มีส่วนผสมของกฤษณาทั้งสิ้น แต่ก็มียาหอมหลายหลายชนิดที่ไม่มีส่วนผสมของกฤษณาอยู่เลย              
 ในปัจจุบันมีตำรายาที่เข้ากฤษณาอยู่หลายชนิด เช่น ยากฤษณากลั่นตรากิเลน ใช้บำบัดอาการปวดท้อง  ท้องเสีย  จุกเสียด แน่น หรือยาหอมที่เข้ากฤษณาก็มีอยู่หลายขนาน มีสรรพคุณ คือ ใช้แก้ลม วิงเวียนจุกเสียด หน้ามืดตาลาย คลื่นเหียน อ่อนเพลีย บำรุงหัวใจ ขับลมในกระเพาะลำไส้ บำบัดโรคปวดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น ยาหอมสุคนธโอสถตราม้า มีตัวยาที่สำคัญ คือ กฤษณา โกฐหัวบัว โกฐพุงปลา ชะเอม สมุลแว้ง ชะมด พิมเสน อบเชย กานพลู ฯลฯ ยาหอมตรา 5 เจดีย์ มีตัวยาสำคัญหลายชนิด คือ กฤษณา ชวนพก โกฐสอ กานพลู เกล็ดสะระแหน่ อบเชย โกฐกระดูก พิมเสน โสยเซ็ง ฯลฯ ยาหอมทูลฉลองโอสถ ประกอบด้วยตัวยาที่สำคัญ คือ กฤษณา กานพลู สมุลแว้ง ดอกบุนนาค โกฐหัวบัว ฯลฯ ยาหอมหมอประเสริฐ ตัวยาที่สำคัญ คือ กฤษณา จันทน์เทศ ผิวส้มจีน เกล็ดสะระแหน่ ฯลฯ  ในตำราจีน กฤษณาจัดเป็นยาชั้นดี มีรสเผ็ดปนขม ฤทธิ์อ่อน ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ แก้ลมวิงเวียน คลื่นไส้อาเจียน รักษาอาการปวดแน่นหน้าอก แก้หอบหืด เสริมสมรรถภาพทางเพศ แก้โรคปวดบวมตามข้อ ขับลมในกระเพาะอาหาร ปัจจุบันได้นำกฤษณาไปผลิตยารักษาโรคกระเพาะที่ดีที่สุดชนิดหนึ่ง คือ จับเชียอี่ 

ในพระคัมภีร์ปฐมจินดาร์
กล่าวถึงสรรพคุณกฤษณาดังต่อไปนี้
   -   ผสมสมุนไพรอื่นๆ เพื่อกินแก้ไข้ในครรภ์รักษา (ครรภ์ปริมณฑล)
  -  ยาชื่อ กัลยาฑิคุณ มีส่วนผสมของกฤษณา ใช้รักษาตานโจร กินอาหารไม่ได้
  -ใช้รักษาทรางแดง และทรางชนิดอื่นๆ โดยผสมสมุนไพรอื่น
   -ผสมสมุนไพรชนิดอื่นๆ รักษาโรคปวดท้องในเด็ก (ยาผายพิษสรรพพิษ)
   -  ผสมสมุนไพรอื่นๆ ใช้เป็นยาทาลิ้น แก้ตานแก้ทราง
 - ยาชื่อ หอมจักรนารายน์ มีส่วนผสมสมุนไพรอื่นๆ แก้พิษทราง
- ยาชื่อ สหมิตร มีส่วนผสมสมุนไพรอื่นๆ ทานแก้ไข้กำเดา และแก้ใจขุ่นมัว
 - ยาชื่อ เทพมงคล มีส่วนผสมของสมุนไพรอื่นๆ ใช้รักษาลิ้นกระด้าง คางแข็ง
- ยาชื่อ ยาแก้เชื่องซึมแก้มึน มีส่วนผสมของสมุนไพรชนิดอื่นๆ ใช้แก้กระหายน้ำหอบพัก
 -ยาชื่อ ทิพย์ศุภสุวรรณ มีส่วนผสมของสมุนไพรอื่นๆ ใช้รักษาโรคตานโรคทราง และริดสีดวงทวารในผู้ใหญ่
- ยาชื่อ พระสุริยมณฑล ผสมสมุนไพรชนิดอื่นๆ แก้ไข้พิษเหนือ โรคตานทราง แก้ลม
 -ยานัตถุ์ชื่อ สาวกัลยาณี ใช้แก้ลม ปวดศีรษะ ตาแดงตาฟาง
ในพระคัมภีร์ธาตุวิภังค์
กล่าวถึงสรรพคุณกฤษณาต่อไปนี้
-          แก้ปถวีธาตุ คือเยื่อในสมองพิการ
-          ยาธาตุบัญจบ เป็นยาให้ตามวันเกิดเป็นยาประจำธาตุ
-           ยาปโตฬาทิคุณ แก้ไข้เพื่อโลหิตในฤดูร้อน
-           ยามหาสมิทธิ์ใหญ่ แก้สันนิบาต 7 จำพวก แก้ไข้พิษ แก้น้ำมูลพิการ
-            ยามหาสดมภ์ แก้ลมจับหัวใจ แก้โลหิตกำเริบ
-           ยากล่อมนางนอน แก้พิษตานทรางขโมย พิษฝีกาฬ

ในพระคัมภีร์สรรพคุณ (แลมหาพิกัต)
-          ใช้บำรุงธาตุทั้งห้า
ในพระคัมภีร์มหาโชตรัต
ล่ม สาม กล่าวถึงสรรพคุณกฤษณาไว้
ใช้แก้โลหิตปรกติโทษ
  - แก้โลหิต แก้ลมแก้เส้น
- ยาชื่อ จิตรารมณ์ ใช้แก้ลมสวิงสวาย แก้ร้อนใน
ในพระคัมภีร์ชวดาร
บรรยายถึงสรรพคุณกฤษณาไว้ดังนี้
-           ยาเขียวประทานพิษ ใช้แก้ลมต่างๆ
-           ยาหงษ์ทอง ใช้เป็นยานัตถุ์ แก้ลมต่างๆ
-           ยาบำรุงโลหิต
ในพระคัมภีร์ โรคนิทาน
กล่าวถึงสรรพคุณกฤษณาไว้ดังนี้
-          ต้มกินแก้ปถวีธาตุ
-          ยาธาตุบันจบ เป็นยาบำรุงธาตุ
-          แก้ใจพิการต่างๆ (ยาชื่อ สมมิตรสวาหะ)
-           แก้ลมกำเริบเข้าจับหัวใจนอนแน่นิ่ง
ในพระคัมภีร์มุจฉาปักบันทิกา
-          ใช้บำรุงโลหิต
-           รักษาโลหิตพิการ
-           รักษาโรคฟัน
-           รักษาโรคไฟลามทุ่ง ไฟลวก
หมายเหตุ ให้พึงระลึกไว้เสมอว่า ยาสมุนไพรไทยมิได้ใช้เป็นยาเดี่ยว เกิดจากการผสมสมุนไพรแต่ละตัวดังนั้นสรรพคุณจึงเปลี่ยนแปลงตามส่วนประกอบของสมุนไพรที่มีอยู่ในตำรับทั้งหมด 
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา              
สารสกัดโดยใช้ตัวทำละลายเบนซินพบว่ามีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลางอย่างรุนแรง สารสกัดส่วนเปลือกด้วยน้ำพบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งของฮีสตามีนจาก mast cells                ลดความดันโลหิต สารสกัดแก่นด้วยอัลกอฮอล์น้ำ (1:1) เมื่อฉีดเข้าใต้ผิวหนังหรือกรอกให้หนูถีบจักรในขนาด 10 กรัม/กิโลกรัม ไม่พบความเป็นพิษแต่อย่างไร                ฤทธิ์เภสัชวิทยาอื่นๆ มักศึกษาในลักษณะเป็นองค์ประกอบในสูตรยาหอมตำรับต่างๆ
การนำส่วนต่างมาใช้ประโยชน์
น้ำมันกฤษณา
เป็นยาบำรุงหัวใจ แก้โรคท้องอืดท้องเฟ้อ โรคลำไส้ โรคกระเพาะอาหาร    โรคตับ ซึ่งในประเทศไทยรู้จักในนามกฤษณากลั่น ใช้ในพิธีกรรมของศาสนาอิสลาม ใช้ทาตัวป้องกันไรในทะเลทราย เป็นเครื่องประทินผิว ใช้ทำหัวน้ำหอมใช้กระตุ้นอารมณ์ทางเพศ              
ชิ้นไม้กฤษณา
  ใช้บดผสมเป็นยาบำรุงหัวใจในเลือด ใช้ในพิธีกรรมของศาสนา ใช้ระงับอารมณ์โมโหดุร้าย ผ่อนคลายความตึงเครียด บำรุงสมอง ทำให้เกิดอารมณ์สุนทรีย์ ฯลฯ              
น้ำกลั่นกฤษณา
 ใช้ทำสบู่หอม สบู่เหลว ยาสระผม เครื่องประทินผิว ใช้ทำสปาระงับความเครียดหรือรับประทานเป็นประจำเป็นยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเป็นเถาดาน ฯลฯ              
กากกฤษณาหลังจากการกลั่น
ใช้ทำผงธูปหอม เครื่องปั้นต่างๆ               
เปลือกกฤษณา
 - ชั้นนอกใช้ทำยากันยุง
 - ชั้นกลางใช้เป็นเครื่องจักสาน
- ชั้นในใช้ทอเสื้อผ้า เชือกป่าน

 ใบกฤษณาหลังจากเกิดกฤษณาแล้ว
- น้ำจากใบเป็นยารักษาภูมิแพ้
 - น้ำจากใบสามารถรักษาโรคเบาหวานได้
- ใช้เป็นสีในการทำธูปสีเขียว
 -  ใช้ใบทำชาเขียว กำลังเป็นที่นิยมในประเทศญี่ปุ่น ( เม.ย 49 )
กิ่งไม้กฤษณา
 - ใช้ทำดอกไม้จันทน์ในงานพิธีศพ
- ใช้บดทำปาร์ติเกิ้ล ไม้อัด ทำธูป
- ใช้ทำเยื่อกระดาษ
เนื้อไม้กฤษณา
- ใช้บดทำปาร์ติเกิ้ล ไม้อัด ทำธูป
 - ใช้บดทำเป็นวอลเปเปอร์
- ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์
- ใช้ในการก่อสร้าง เช่น ทำฝาบ้าน เพดานสำนักงาน บ้าน ใช้ทำพื้นบ้านเมื่อมีอายุมากเนื้อไม้จะมีความแข็ง
- ใช้ทำเยื่อกระดาษ
เมล็ด
 ใช้เมล็ดทำน้ำมันกฤษณา
ทำให้เกิดสารน้ำมัน
การขั้นตอนนี้สำคัญมากในการปลูกไม้หอม เพราะเป็นขั้นตอนที่ทำให้เกิดผลประโยชน์มาก หรือน้อย ขึ้นอยู่กับขั้นตอนนี้การเจาะ ต้องวัดความสูงจากพื้นดินบริเวณโคนต้น ประมาณ 50 ซ.ม. แล้วใช้ดอกสว่านเจาะเหล็กขนาดตั้งแต่ 5, 4, 3 หุล ตามลำดับความโตของต้นไม้ โดยเจาะเอียงขึ้นตามแนวตั้งของต้นไม้เอียงขึ้น 30 องศา ห่างกันช่องละ 4 นิ้ว
 รอบและทั่วทั้งลำต้น โดยเจาะถึงศูนย์กลางลำต้น และควรเจาะในฤดูฝน หรือในขณะมีอากาศชุ่มชื้น การทำสารไม้หอมกับต้นที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ควรปฏิบัติดังนี้
1. ตรวจดูสายพันธุ์ดีหรือไม่ดี ถ้าเป็นสายพันธุ์แท้ของพันธุ์เอควิลาเรีย สับดินทิกร้า (Aquilaria Subintegra) ของจังหวัดตราด จะมีเส้นใยใบบริเวณโคนใบเป็นคู่ขนานประมาณ 2-3 คู่ขึ้นไป เป็นการสังเกตที่ง่ายที่สุด ซึ่งสายพันธ์อื่นจะไม่มี
2. ตัดแต่งกิ่งแขนงต่างๆ ออก พยามยามแต่งให้ลำต้นสูงชะลูด และมีกิ่งที่ปะทะน้อยที่สุด เพื่อป้องกันลำต้นโค่นล้ม หลังจากทำสาร
3. วัดความสูงจากโคนต้นขึ้นมาประมาณ 50 ซ.ม. แล้วเริ่มเจาะโดยใช้ดอกสว่าน ตั้งแต่ 3 – 5 หุน โดยบริเวณโคนต้น หรือลำต้นที่มีขนาดใหญ่ ให้ใช้สว่านขนาด 5 หุนเจาะก่อน แล้วเรียงลดหลั่นไปตามขนาดของลำต้นโดยเจาะเอียงขึ้น 30 องศา ขึ้นไปตามลำต้นห่างกันช่องละประมาณ 4 นิ้ว จนเกือบถึงยอดของต้นไม้หอม เจาะจนรอบต้น แล้วใช้สารตามสูตร (ขอสงวนสูตร) ดัดใส่เข้าไปจนเต็มออกมาถึงปากรูที่เจาะหลังจากนั้นประมาณ 5 วัน จะเห็นปฏิกิริยาของไม้หอมเปลี่ยนแปลงไป ต้นจะเริ่มเร่งหลั่งสารเรซิน หรือน้ำมันกฤษณาออกมาเพื่อต่อต้านสารที่อุดเข้าไป ถ้าทำตามหลักการและใช้สารตามสูตรที่ถูกต้องแล้ว ถ้าไม้อายุตั้งแต่ 8 ปีขึ้นไปมีลำต้นสูงชะลูดก็จะให้ผลตอบแทนประมาณ 10,000 – 30,000 บาท ถ้าลำต้นไม่สวย เตี้ย มีกิ่งมากก็จะให้ผลตอบแทนประมาณ 5,000 – 10,000 บาท ถ้าไม้ยิ่งอายุมากและลำต้นใหญ่ สูงชะลูด ก็จะให้ผลตอบแทนมากตามลำดับ หลังจากทำสารแล้วประมาณ 6 เดือน ก็จะเริ่มใช้สิ่วเจาะสำรวจดู ถ้าต้นไหนไม้ลงตะเคียนแล้ว และคำนวณว่าคุ้มกับการตัดโค่นก็ตัดตามหลักการได้เลย แต่ถ้าจะให้ผลคุ้มค่าหรือให้ผลตอบแทนสูง ควรทิ้งไว้อย่างน้อย 1 ปี เมื่อตัดแล้วส่วนที่เหลือคือตอที่สูงประมาณ 50 ซ.ม. อีกประมาณ 10 วัน ก็จะมีแขนงงอกออกมา ส่วนนี้ควรเว้นแขนงไว้ไม่เกิน 2 แขนง และเมื่อแขนงลัดออกมายาว 50 ซ.ม. แล้วก็เริ่มทำสารที่ตอ เพื่อให้เกิดไม้แก่นต่อไป ซึ่งเวลาอีกประมาณ 3 ปี จะให้ผลตอบแทนต่อ 1 ตอ ประมาณ 3,000 – 20,000 บาท
ที่มา: http://www.thaikrisana.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น